สมัครสมาชิก
เข้าสู่ระบบ
หน้าแรก
สินค้า
คอร์สเรียนซูชิ
เว็บบอร์ด
วิธีสั่งซื้อสินค้า
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อเรา
Home
-->
อุปกรณ์ซูชิ
Makisu หรือเสื่อไม้ไผ่สำหรับม้วน มีไว้สำหรับใช้ทำซูชิ ในเมืองไทย
สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายเครื่องปรุงญี่ปุ่น หรือในซูปเปอร์มาร์เก็ต
ขนาดใหญ่ ซึ่งMakisu จำเป็นมากในการม้วนซูชิ ซึ่งจะทำมาจากไม้ไผ่ซี่
เล็กๆเรียงกันและใช้ด้ายยึดเป็นแผ่น Makisu นิยมนำมาทำซูชิ จึงเรียกว่า
Makisushi แต่ก็ยังนิยม ใช้เพื่อจัดรูปทรงของอาหารเช่น ไข่ม้วน เป็นต้น
ขนาดมาตรฐานของ Makisu คือ 25 x 25 ซม. หรือใกล้เคียงและมีทั้งแบบ
ที่ทำมาจากไม้ไผ่ซี่เล็กๆ เรียงกันถี่ๆ และแบบทำมาจากไม้ไผ่ซี่ใหญ่ๆ
เรียงกัน ห่างๆ ซึ่งแบบที่ทำมาจากซี่ใหญ่ๆ นั้นยิ่งทำให้อาหารที่ม้วนนั้น
แน่นขึ้น วิธีเก็บรักษาหลังจากการใช้ Makisu ควรล้างให้สะอาดและผึ่ง
ให้แห้งกันเชื้อรา เพราะเศษข้าวที่ติดตามซอกนั้นเป็นตัว สร้างเชื้อราอย่าง
ดีหาล้างไม่สะอาด หรืออาจใช้พลาสติกรอง Makisu แล้วค่อยม้วนก็ได้
Hangiri ถังไม้ใส่ข้าว ใช้เตรียมข้าวที่ใช้ทำซูชิโดยเฉพาะและต้องเลือก
ที่ปากกว้างก้นไม่ลึกเพราะยิ่งปากของถังไม่ยิ่งกว้างก็จะยิ่งดี ซึ่งจะทำให้
ข้าวเย็นเร็ว และเม็ดข้าวกระจายได้ดีหากทำเป็นซูชิก็จะทำให้เครื่องปรุง
ที่ใส่ลงไป ผสมกับข้าวนั้น เข้ากันได้ดียิ่งขึ้น Hangiri แบบดั้งเดิมนั้นทำ
จากต้นไซปรัส Hangiri ที่ตามบ้านทั่วไปนิยมใช้นั้นจะมีขนาดเส้นผ่าน
ศูนย์กลางของปากถัง ประมาณ 30 ซม. Hangiri ก็มีหลายขนาดซึ่ง
ขนาดใหญ่ปากจะกว้างถึง 1 เมตร สำหรับใช้ตามร้านอาหารใหญ่ๆ
และสิ่งที่ต้องใช้คู่กับ Hangiri ก็คือ Shamoji หรือไม้พาย สำหรับ
คนข้าวให้เย็นและใช้คลุฟข้าวกับเครื่องปรุงต่างๆ
Shamoji ไม้พายสำหรับคนข้าว โดยส่วนมากคนทั่วไปอาจมองข้ามไม่ค่อยเห็นความสำคัญ กับไม้พายที่ใช้คนข้าว แต่ความจริง อุปกรณ์ชิ้นนี้มีความสำคัญเป็นอันดับต้นๆในครัว ญี่ปุ่นเลยก็ว่าได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการทำข้าวญี่ปุ่น เพราะเมื่อหุงข้าวเสร็จแล้วก็ต้อง หาอะไรสักอย่างมาตักข้าวออกจากหม้อ แน่นอนก็ต้องมองหาไม้พาย หรือ Shamoji แต่ Shamoji นี้จะต้องมีปลายกลมสำหรับคนข้าว Shamoji แต่เดิมทำจากไม้ แต่ปัจจุบัน ก็มีแบบที่เป็นพลาสติก บางคนอาจถามว่า ทำไมไม่ใช้ช้อนตักละ? ก็เพราะข้าวญี่ปุ่นจะ เหนียวกว่าข้าวในประเทศไทยมาก เมื่อใช้ไม้ Shamoji แช่น้ำข้าวก็จะไม่ติดไม้ออกมา
Oroshigane ที่ขูดหรือฝน ใช้ฝนหัวผักกาด ขิง หัวมันต่างๆ หรือแม้แต่การขูดวาซาบิสด ก็ต้องใช้ Oroshigane ความจริง Oroshigane ก็มีหน้าตาคล้ายกับที่ขูดมะละกอไว้ทำส้มตำบ้านเรา
Uroko - Tori ที่ถอดเกล็ดปลา Uroko - Tori เป็นที่คอดเกล็ดปลาประจำครัว ที่ส่วนมากจะ มีไว้ติดบ้าน แต่บางบ้านก็อาจจะใช้มีดในการขอดเกล็ดปลาแต่ก็จะยากกว่าใช้ Uroko - Tori บ้างบ้านไม่นิยมทำเองเพราะเสียเวลาและมักให้ร้านขายปลาขอดเกล็ดและทำมาให้เสร็จ
Ami Shakushi คือกระชอนนั่นเอง มีไว้ตักเศษเล็กๆ จากหม้อซุปหรือตักฟอง ออกจากซุปเต้าเจี้ยว Miso เวลาเกิดฟอง และยังสามารถใช้ตักอาหารที่ทอด เสร็จแล้วขึ้นมาอย่างเทมปุระ ก็สะดวกดี แต่เวลาซื้อต้องเลือกที่มีตาถี่ๆจะดีกว่า และต้องเป็นเหล็กที่ทนความร้อนได้ดีด้วย
Makiyakinabe คือ กระทะไข่ม้วน สำหรับทำไข่เจียวแบบญี่ปุ่น หรือที่รู้จักกันดีในภาษาญี่ปุ่นว่า Tamakoyaki เมื่อจะทำไข่ม้วนแบบญี่ปุ่นก็ต้อง ใช้คู่กับตะเกียบสำหรับทำอาหาร เมื่อใข่สุก ก็ม้วนเข้ามาหากัน กระทะนี้จะช่วยให้รูปร่างของไข่สวยงามกว่ากระทะแบบก้นกลมที่ใช้กัน
มีดญี่ปุ่นที่ใช้แล่ปลา